ปรึกษาทนายคดีอาญา


                                                                                                            คดีอาญา ( Criminal Case )

  • คดีอาญาคืออะไร  คดีอาญาคือคดีที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด  และกำหนดโทษไว้  โดยโทษตามกฎหมายอาญาได้แก่ ประหารชีวิต  จำคุก  กักขัง  ปรับ  ริบทรัพย์สิน

   กฎหมายอาญาคือ  กฎหมายที่กำหนดให้การกระทำใดเป็นความผิด  และกำหนดโทษสำหรับความผิดนั้น

    การใช้และการตีความกฎหมายอาญา  การจะเป็นความผิดอาญาได้นั้น  จะต้องตีความตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด  ตามไม่มีกฎหมาย  ไม่มีความผิด  ไม่มีโทษ

     ความผิดอาญาที่พบได้บ่อย ได้แก่

1 ความผิดเ้กี่ยวกับทรัพย์ เช่น ลักทรัพย์  ฉ้อโกง  ยักยอกทรัพย์

2  ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย

3 ความผิดอาญาฐานปลอมเอกสาร  ใช้เอกสารปลอม 

4 ความผิดอาญาเกี่ยวกับเสรีภาพ

5 ความผิดอาญาเกี่ยกับการหมิ่นประมาท  ดูหมิ่น

6 ความผิดอาญาเกี่ยวกับการแจ้งความเท็จ  ฟ้องเท็จ  เบิกความเท็จ

7 ความผิดเกี่ยวการปฎิบัติหน้าที่ทางราชการ  เช่น เรียกสินบน  เจ้าพนักงานปฎิบัติหน้ที่โดยมิชอบ มาตรา 157

การฟ้องคดีอาญา

1  การแจ้งความผ่านเจ้าหน้าที่ตำรวจ

2 การจ้างทนายฟ้องคดีอาญาเอง ไม่ผ่านตำรวจ

 

  สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา  เป็นตามวิอาญามาตรา 7/1

 

ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย

 

(1)    พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

 

(2)    ให้ทราบความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน

 

(3)    ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร

 

(4)    ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

 

                   ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งได้รับมอบตัวผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องมีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหาทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง

      แต่หากถูกฟ้องศาลแล้วย่อมตกเป็นจำเลย  จำเลยในคดีอาญามิสิทธิดังนี้

(1) ได้รับการพิจารณาด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม

(2) แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาในศาลชั้นต้นตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา

(3) ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

(4) ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้นๆ

(5) ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม

(6) ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน

   ถ้าจำเลยมีทนายความ ทนายความนั้นย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลยดังกล่าวมาแล้วด้วย

 

                        คดีความผิดอาญาที่เกี่ยวกับทรัพย์

คดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา

1 คดีลักทรัพย์ หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่าขโมย

มาตรา ๓๓๔  ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท

มาตรา ๓๓๕๑  ผู้ใดลักทรัพย์
               (๑) ในเวลากลางคืน
               (๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
               (๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใด ๆ
               (๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
               (๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
               (๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
               (๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
               (๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้น ๆ
               (๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถหรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
               (๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
               (๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
               (๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
               ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

2 คดีวิ่งราวทรัพย์

มาตรา ๓๓๖  ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

3 คดีกรรโชกทรัพย์

มาตรา 337  ของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
              ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
              (๑) ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจ หรือผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ
              (๒) มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
              ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐] 

4 คดีรีดทรัพย์

“มาตรา 338 ” หรือ “มาตรา 338 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

5 ชิงทรัพย์

มาตรา ๓๓๙๑  ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
               (๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
               (๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
               (๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
               (๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
               (๕) ให้พ้นจากการจับกุม
               ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท
               ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่งมาตรา ๓๓๕ หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสามแสนบาท๒
               ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท
               ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท

6 ความผิดฐานปล้นทรัพย์

 

ปรึกษาข้อกฎหมายทางอาญาโทร 0838843287

Visitors: 3,052